
กรุงเทพ – วันที่ 4 เมษายน 2568 จากการเล็งเห็นถึงปัญหาช้างไทยที่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย, การลดลงของพื้นที่ป่า, การใช้งานในอุตสาหกรรมที่ไม่เหมาะสม ทำให้ช้างไทยต้องเผชิญกับความขาดแคลนด้านอาหารและน้ำ จนนำไปสู่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างคนกับช้าง THAI KOON GROUP จึงร่วมกับ PiN Metal Art ศิลปินและนักออกแบบ ในการนำเศษเหล็กมาทำเป็นผลงานศิลปะมากมาย รวมถึงโคมไฟ “Elephant Hope” ที่มีเพียง 133 ชิ้น ซึ่งได้เปิดราคาขายไปเมื่อวันที่ 4 เมษายน ในโครงการ “THAIKOON FOR THAI ELEPHANTS” ที่จัดขึ้นภายในงาน STYLE Bangkok Fair 2025 ระหว่างวันที่ 2-6 เมษายน 2568 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการจำหน่ายชิ้นงานศิลปะไปช่วยเหลือช้างในมูลนิธิดูแลรักษาช้างไทย

นอกจากนี้ ภายในงานยังได้จัดเสวนาแถลงข่าวร่วมกันในหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจมากมาย อาทิ จุดเริ่มต้นของโครงการ PIN & THAIKOON แรงบันดาลใจของศิลปินและทำไมต้องเลือกสินค้า โคมไฟ “Elephant Hope”, เหตุผลที่ THAIKOON ทำโครงการนี้, มุมมองต่อการช่วยเหลือช้างไทยอย่างเป็นรูปธรรม, ศิลปิน และภาคเอกชนสามารถช่วยเหลือช้างไทย อย่างยั่งยืนอย่างไรบ้าง ฯลฯ ผ่านแขกรับเชิญ ดังนี้ คุณสงวน สกุลวรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร THAI KOON GROUP, ดร.อลงกต ชูแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม, ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งโครงการพอแล้วดี TheCreator, คุณปิ่น ศรุตา เกียรติภาคภูมิ ศิลปินและนักออกแบบ PiN Metal Art

โดย คุณสงวน สกุลวรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร THAI KOON GROUP เปิดเผยถึง ที่มาของโครงการ “THAIKOON FOR THAI ELEPHANTS” มาจากความต้องการที่อยากส่งเสริมและอนุรักษ์ช้างไทย เพราะช้างเป็นสัญลักษณ์อันทรงคุณค่าและมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเมื่อ15 ปีก่อน ครอบครัว(พี่สาว) ได้ช่วยไถ่ชีวิตช้าง “พังไทยคูณ” ที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกใช้งานและขาด้านหน้าเหยียบระเบิดจนเกิดความพิการ ดังนั้นจุดประสงค์ของโครงการฯ นี้ คือเพิ่มความตระหนักรับรู้ด้านการอนุรักษ์ช้างไทย โดยมีเป้าหมายระยะยาวทั้งการสร้างสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนให้กับช้างไทย และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ไปด้วย
อย่างไรก็ดี การเข้าไปช่วยเหลือผ่านการระดมทุนในโครงการ “THAIKOON FOR THAI ELEPHANTS” ครั้งนี้ จะช่วยให้มูลนิธิดูแลรักษาช้างไทย หรือ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยในประเทศ มีศักยภาพความสามารถมากขึ้นในการดูแลช้างไทย ตั้งแต่เรื่องการฟื้นฟูสุขภาพ, การจัดหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม และโครงการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพ ต่อไป
เพราะค่าใช้จ่ายในการดูแลช้างไทยแต่ละตัวอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับมูลนิธิและสถานที่ดูแลช้างนั้นๆ แต่โดยเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการดูแลช้างไทยแต่ละตัว จะครอบคลุมหลากหลายมิติ อาทิ ด้านอาหารและน้ำ ช้างหนึ่งตัว ต้องการอาหารประมาณ 150-300 กิโลกรัมต่อวัน และน้ำปริมาณไม่ต่ำกว่า 150-200 ลิตรต่อวัน นอกจากนี้ยังต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องการดูแลสุขภาพ,การรักษาโรค, การจัดหาพื้นที่เหมาะสมสำหรับช้างไทยในการอยู่อาศัย และการมีพื้นที่ในการเคลื่อนไหวอย่างเพียงพอ ทำให้ต้องมีเรื่องการบำรุงรักษาพื้นที่เหล่านั้นให้ปลอดภัยและเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของช้างไทย

ดังนั้น แผนการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปะที่สร้างจากเศษเหล็กของ คุณปิ่น-ศรุตา เกียรติภาคภูมิ (ศิลปินและนักออกแบบ PiN Metal Art) ที่ได้รังสรรค์ผลงานออกมาเป็นชิ้นงานศิลปะสุดอาร์ท คือ โคมไฟ “Elephant Hope” รวมถึงผลิตภัณฑ์ศิลปะที่สร้างจากเศษเหล็กอื่นๆ ที่ได้นำมาจำหน่ายภายในงาน STYLE BANGKOK Fair 2025 ตั้งแต่วันที่ 2-6 เมษายน และ ช่องทาง Line Official @thaikoon โดยรายได้ทั้งหมดหลังจากหักค่าใช้จ่ายจะนำส่งมอบให้กับมูลนิธิดูแลรักษาช้างไทย หรือ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยในประเทศ เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานหรือโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ช้างไทยต่อไปในอนาคต
ผู้ที่สนใจสามารถสนับสนุนโครงการ “THAIKOON FOR THAI ELEPHANTS” ผ่านการซื้อผลงานศิลปะเศษเหล็ก โคมไฟ “Elephant Hope” ที่มีเพียง 133 ชิ้นได้แล้ว ภายในงาน STYLE BANGKOK Fair 2025 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 เมษายน 2568 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานอื่นๆ เห็นถึงผลลัพธ์และประโยชน์จากการรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่า โดยใช้ศิลปะเป็นสื่อเปลี่ยนแปลงทางสังคม” คุณสงวน กล่าว
ขณะที่ คุณปิ่น-ศรุตา เกียรติภาคภูมิ ศิลปินและนักออกแบบ PiN Metal Art กล่าวถึง แนวคิดที่เลือกใช้เศษเหล็กเป็นวัสดุหลักในออกแบบโคมไฟ “Elephant Hope” เพราะที่ผ่านมาเศษเหล็กมักเป็นวัสดุที่ถูกมองข้าม ถูกกำจัดว่าเป็นของเสีย แต่สำหรับ ปิ่น มองว่าเป็นวัตถุดิบที่เต็มไปด้วยศักยภาพในการสร้างสรรค์ จึงได้เลือกใช้เศษเหล็กเป็นวัสดุหลักเพื่อสะท้อนถึงแนวคิด “New Life of Waste” ที่ต้องการให้ขยะอุตสาหกรรมได้เกิดใหม่ในรูปแบบของงานศิลปะและของตกแต่งบ้าน

นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความงามที่ซ่อนอยู่ในวัสดุที่คนทั่วไปมองว่าไร้ค่า ในเรื่องรูปร่างรูปทรงหรือconcept เกี่ยวกับช้าง จึงตั้งใจทำรูปร่างเป็นหน้าช้างที่มองทั้งทางตรงก็เป็นเหมือนตัวช้างและมีขาช้าง สีผิวก็ให้เป็นสีผิวที่มีพื้นผิวขุขะและสีสันคล้ายกับผิวของช้าง และอนาคตยังมองว่าเศษเหล็กสามารถนำไปต่อยอดเป็นงานออกแบบได้หลากหลาย ทั้งในรูปแบบ งานศิลปะจัดวาง (Art Installation), เฟอร์นิเจอร์, ของตกแต่งบ้าน, และเครื่องประดับ เป็นเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้
สำหรับความท้าทายของการออกแบบโคมไฟ “Elephant Hope” ครั้งนี้ คือ เศษวัสดุที่มีขนาดเล็ก ที่ต้องทำให้เป็นชิ้นงานที่สวยงามและใช้งานได้ รวมถึงเทคนิคการผลิต เนื่องจากเป็นทีมงานที่ผลิตแต่ผลงานที่เป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ ไม่มีความชำนาญ เพราะการทำงานเชิงประดับตกแต่ง ต้องอาศัยความละเอียดอ่อนและใส่ใจถึงรายละเอียดมากขึ้น แต่ก็ผ่านออกมาด้วยดี จนเป็นผลงานที่น่าภูมิใจอีกชิ้นงานหนึ่ง ” คุณปิ่น-ศรุตา กล่าว

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Facebook : THAI KOON GROUP
https://www.facebook.com/thaikoongroup/
Website : www.thaikoongroup.com
https://www.thaikoongroup.com/