วันที่ 16 กันยายน 2567 เนื่องในวันโอโซนสากล ประจําปี 2567 กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดงานแถลงข่าว วันโอโซนสากล ประจําปี 2567 โดยมีนางอลิสรา รังษีภโนดร ผู้อํานวยการกองบริหารจัดการวัตถุอันตราย กล่าวรายงาน นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดี กรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นผู้แถลงข่าว และตอบข้อซักถาม ต่อสื่อมวลชน ณ.โรงแรมอมารี กรุงเทพฯ
นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดี กรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า องค์การสหประชาชาติ (United Nations General Assembly – UNGA) ได้กําหนดให้วันที่ 16 กันยายน เป็น วัน โอโซนโลก อย่างเป็นทางการในปี 1994 โดยวันที่นี้ถูกเลือกเพื่อระลึกถึงการลงนามใน พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วย สารที่ทําลายชั้นโอโซน ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน ปี ค.ศ. 1987 โดยองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme – UNEP) เป็นผู้ที่มีบทบาทสําคัญในการจัดและส่งเสริมวันโอโซนโลกเพื่อสร้าง ความตระหนักและกระตุ้นการดําเนินการระดับโลกในการปกป้องชั้นโอโซนวันโอโซนโลก ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 16 กันยายน ของทุกปี เป็นเหตุการณ์ระดับโลกที่มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการลดลงของชั้นโอโซนและ กระตุ้นให้มีการดําเนินการเพื่อปกป้องชั้นโอโซน
วันนี้ถูกจัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการลงนามใน “พิธีสารมอนทรีออล” ซึ่ง เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งเน้นการยุติการผลิตและการใช้สารที่ทําลายชั้นโอโซน ชั้นโอโซนเป็นส่วนสําคัญ ของบรรยากาศโลกซึ่งอยู่ในชั้นสตราโตสเฟียร์และมีบทบาทสําคัญในการปกป้องชีวิตบนโลกโดยการดดูซับรังสี อัลตราไวโอเลต (UV) ที่เป็นอันตรายจากดวงอาทิตย์ หากปราศจากชั้นโอโซนนี้ รังสี UV ที่เพิ่มขึ้นจะเข้าสู่พื้นโลกมาก ขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดอัตราการเกิดมะเร็งผิวหนังที่สูงขึ้น ก่อให้เกิดภาวะต้อกระจก และทําลายระบบนิเวศต่างๆ
พิธีสารมอนทรีออลถือเป็นหนึ่งในข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมที่ประสบความสําเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมี 197 ประเทศที่ร่วมกันลดการใช้สารที่ทําลายชั้นโอโซน เช่น คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) ตั้งแต่การบังคับ ใช้ พิธีสารมอนทรีออลทําให้ชั้นโอโซนเริ่มฟื้นตัว แต่ความร่วมมือระดับโลกยังคงเป็นสิ่งจําเป็นเพื่อให้ชั้นโอโซน กลับมาฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ ในแต่ละปี วันโอโซนโลกจะมีหัวข้อเฉพาะเพื่อเน้นถึงความพยายามอย่างต่อเนื่อง และ กระตุ้นให้มีการปฏิบัติที่ยั่งยืนในการปกป้องชั้นโอโซนและสิ่งแวดล้อม
พิธีสารมอนทรีออลนี้มีส่วนสําคัญในการ ปกป้องมนุษยชาติในมิติต่างๆที่สําคัญ ดังเช่น
- ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศของโลกซึ่งสิ่งมีชีวิตอาจถูกทําร้ายถ้าหากไม่ได้รับการ ปกป้องจากรังสียูวี
- ความมั่นคงทางอาหารและรายได้ของเกษตรกร การสัมผัสรังสียูวีเกินไปจะทําลายระบบนิเวศ ส่งผล ต่อแมลงผสมเกสร ลดผลผลิตพืชและแหล่งปลาสัตว์น้ํา
- การปกป้องชั้นโอโซนจะช่วยป้องกันความเสียหายต่อเกษตรกรรมประมงและวัสดุต่างๆมูลค่า ประมาณ 460 พันล้านดอลลาร์ ระหว่างปี 1987 ถึง 2060
- สุขภาพของมนุษย์หลีกเลี่ยงโรคมะเร็งผิวหนังมากถึง2ล้านรายต่อปีภายในปี2030และป้องกัน ผู้ป่วยต้อกระจกรายใหม่หลายล้านคนทั่วโลก
ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารมอนทรีออลเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 รวมทั้งให้สัตยาบันพิธีสารมอนทรีออลส่วนที่มีการปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติม อีก 5 ครั้ง โดยครั้ง ล่าสุดเกิดขึ้นที่ กรุงคิกาลี (The Kigali Amendment to the Montreal Protocol (2016)) เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 ที่ผ่าน มาโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักในการควบคุมการผลติ การนําเข้าการ ใช้สารเคมีที่ทําลายชั้นบรรยากาศโอโซน และเป็นศูนย์ประสานงานในการติดต่อกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่ง สหประชาชาติเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามพันธกรณีภายใต้พิธีสารมอนทรีออล
โดยพิธีสารมอนทรีออลฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment) กําหนดขึ้นเพื่อควบคุม ยับยั้ง และรณรงค์ให้ลดการผลิตและการใช้สารทําลายชั้น โอโซนเพื่อรักษาชั้นบรรยากาศโอโซนที่ถูกทําลายจากการใช้สารทําลายชั้นบรรยากาศโอโซนเหล่านี้ได้แก่สารคลอ โรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbons: CFCs) สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrochlorofluorocarbons: HCFCs) สารฮาลอน (Halons) และ สารเมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide: CH3Br) ซึ่งที่ผ่านมาสามารถลดก๊าซเรือนกระจก ตั้งแต่ ค.ศ.1989 – 2023 ลงไปได้ถึง 1,460 ล้านตัน CO2 เทียบเท่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน 3,896 โรง หรือ การใช้รถยนต์ 387 ล้านคัน
ซึ่งพิธีสารมอนทรีออลส่วนที่มีการปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติม มีการปรับปรุงและแก้ไขเนื้อหาในประเด็น สําคัญ ดังนี้
- การแก้ไขเนื้อหาพิธีสารมอนทรีออล (Amendment)
1.1เพิ่มสารควบคุมกลุ่มใหม่คือสารไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน(HFCs)ในภาคผนวกF(AnnexF) โดย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่ม 1 จํานวน 17 ตัว ได้แก่ HFC-134, HFC-134a, HFC-143, HFC-245fa, HFC-365mfc, HFC-227ea, HFC-236cb, HFC-236ea, HFC-236fa, HFC-245ca, HFC-43-10mee, HFC-32, HFC-125, HFC-143a, HFC- 41, HFC-152, HFC-152a
- กลุ่ม 2 จํานวน 1 ตัว ได้แก่ HFC-23
1.2 เพิ่มข้อกําหนดในการควบคุมการผลิตและการใช้สารไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) และสําหรับ ประเทศกําลังพัฒนา (Article 5 Parties) กลุ่ม 1 เช่น ประเทศไทย เป็นต้น กําหนดให้ปี พ.ศ. 2567 เป็นปี เริ่มต้นควบคุมปริมาณ (Freeze) การผลิตและการใช้สาร HFCs โดยไม่ให้เกินค่าพื้นฐาน (ซึ่งค่าพื้นฐานจะ เท่ากับผลรวมของค่าเฉลี่ยของปริมาณการใช้สาร HFCs ในปี พ.ศ. 2563 – 2565 กับร้อยละ 65 ของ ค่าเฉลี่ยของปริมาณการใช้สาร HCFCs ในปี พ.ศ. 2552 – 2553) - ปี พ.ศ. 2572 ลดปริมาณการใช้สาร HFCs ลง 10% ของค่าพื้นฐาน
- ปี พ.ศ. 2578 ลดปริมาณการใช้สาร HFCs ลง 30% ของค่าพื้นฐาน
- ปี พ.ศ. 2583 ลดปริมาณการใช้สาร HFCs ลง 50% ของค่าพื้นฐาน
- ปี พ.ศ. 2588 ลดปริมาณการใช้สาร HFCs ลง 80% ของค่าพื้นฐาน
1.3 รายงานปริมาณการใช้ และการผลิตสาร HFCs ประจําปี ตามมาตรา 7 ของพิธีสารมอนทรีออล เพิ่มเติม ซึ่งจากเดิมที่มีการรายงานประจําปีเฉพาะการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbons: CFCs) สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrochlorofluorocarbons: HCFCs) สารฮาลอน (Halons) และสาร เมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide: CH3Br) ในภาคผนวก A, B, C และ E (Annex A, B, C และ E) ของพิธีสารมอนทรี ออล
1.4 จัดทําระบบการนําเข้าและส่งออก (Licensing System) ของสาร HFCs ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน หลังจากพันธกรณีภายใต้พิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี มีผลบังคับใช้ในประเทศ ซึ่ง กรอ. ใช้ระบบการอนุญาตภายใต้ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
- การปรับปรุงข้อกําหนด (Adjustment)
เกี่ยวกับกําหนดระยะเวลาในการควบคุมการค้าขายสารควบคุมกับประเทศที่ไม่เป็นประเทศภาคี สมาชิก จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2576 ประโยชน์ที่จะได้รับ และผลกระทบต่อประเทศไทยใน การให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี มีดังนี้
2.1) ประโยชน์ที่จะได้รับ
- ประเทศไทยสามารถซื้อขายสาร HFCs กับประเทศภาคีสมาชิกได้ โดยภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้สาร HFCs เช่น ภาคอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านเรือน ภาคอุตสาหกรรมผลิต เครื่องปรับอากาศที่ใช้ในรถยนต์ ภาคอุตสาหกรรมผลิตโฟม ภาคอุตสาหกรรมผลิตตู้เย็น ตู้แช่ เชิงพาณิชย์ เป็นต้น
- เนื่องจากสาร HFCs เป็นสารควบคุมภายใต้พิธีสารมอนทรีออล และเป็นก๊าซเรือนกระจกซึ่งมีค่า ศักยภาพที่ทําให้โลกร้อนภายใต้ข้อตกลงปารีส ดังนั้น การลดการใช้สาร HFCs โดยการปรับเปลี่ยน กระบวนการผลิตไปใช้สารทดแทนที่มีค่าศักยภาพที่ทําให้โลกร้อนต่ํา จึงเป็นการสนับสนุนต่อการดําเนิน นโยบายของรัฐบาล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065
- ประเทศไทยจะสามารถขอรับเงินช่วยเหลือ รวมถึงความช่วยเหลือทางด้านนโยบายและด้านเทคนิค จากกองทุนพหุภาคี ภายใต้พิธีสารมอนทรีออล เพื่อนํามาดําเนินการลดการใช้สาร HFCs ซึ่งจะทําให้
ภาคอุตสาหกรรมของไทยไม่เสียโอกาสในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตไปใช้สารทดแทนที่เป็น เทคโนโลยีใหม่ที่ไม่ทําลายชั้นบรรยากาศโอโซน และมีค่าศักยภาพที่ทําให้โลกร้อนต่ํา เป็นการยกระดับ ผลิตภัณฑ์ของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้น
- อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้สาร HFCs เช่น เครื่องปรับอากาศในบ้านเรือน เครื่องปรับอากาศที่ใช้ในรถยนต์ ตู้เย็น ตู้แช่เชิงพาณิชย์ เป็นต้น ยังคงมีสารเพียงพอเพื่อการซ่อมบํารุงจนกว่าอุปกรณ์นั้น ๆ จะหมดอายุ การใช้งาน
2.2) ผลกระทบ
- ภาคอุตสาหกรรมที่ใช้สาร HFCs ของไทยจะถูกจํากัดปริมาณการใช้สาร HFCs อย่างไรก็ตามพันธกรณี ภายใต้พิธีสารมอนทรีออลได้ยืดระยะเวลาในการเริ่มการลดการใช้สาร HFCs ออกไป 5 ปี หลังจากพิธีสารฯ ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ซึ่งเพียงพอต่อการลดการใช้สาร HFCs
- ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้สาร HFCs จะต้องลงทุนในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต เพื่อไปใช้สารทดแทนใหม่ที่ไม่ทําลายชั้นบรรยากาศโอโซน และมีค่าศักยภาพที่ทําให้โลกร้อนต่ำ
ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมได้ปฏิบัติตามพันธกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามพิธีสารมอนทรอีอลฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลีโดยไดจ้ัดทํากิจกรรมต่างๆมากมาย เพื่อสร้างความตระหนักและกระตุ้นการดําเนินการปกป้องชั้นโอโซนโลก อาทิเช่น - ส่งมอบบัตรกํานัลสําหรับแลกซื้อเครื่องมือ/อุปกรณ์เพื่อใช้ในการฝึกอบรมช่างติดตั้งและซ่อมบํารุง เครื่องปรับอากาศให้แก่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานและสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ ส่งมอบให้ศูนย์ฝึกอบรมในสังกัด สําหรับแลกซื้อเครื่องมือ/อุปกรณ์ แห่งละ 36 ฉบับ รวม 72 ฉบับ
- สนับสนุนงบประมาณการดําเนินโครงการฝึกอบรมให้แก่ช่างติดตั้งและซ่อมบํารุงเครื่องปรับอากาศ จํานวน 4,560 คน รวมทั้งสิ้น 30,408,000 บาท
- ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดฝึกอบรม จํานวน 110 ครั้ง ครั้งละ 20 คน จํานวนรวม 2,200 คน
- ร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดฝึกอบรม จํานวน 118 ครั้ง ครั้งละ 20 คน จํานวนรวม 2,360 คน
- จัดกิจกรรม “Walk & Run for Ozone and Climate 2065 Net zero” กิจกรรมเดินวิ่ง จัดขึ้น 5 จังหวัด ได้แก่ ครั้งที่ 1 จ.ตรัง ครั้งที่ 2 จ.อุดรธานี ครั้งที่ 3 จ.เชียงใหม่ ครั้งที่ 4 จ.นครศรีธรรมราช และครั้งที่ 5 กทม.
โดยกิจกรรมที่ผ่านมาจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการลดและเลิกใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ( HCFCs) ซึ่ง ส่งผลกระทบต่อการทําลายชั้นบรรยากาศโอโซน และเชิญชวนให้เกิดความสนใจในการปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน รวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการลดการใช้สารไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) ภายใต้พิธีสารมอนทรี ออลฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี(KigaliAmendment) ซึ่งในปีที่ผ่านมากิจกรรมงานเดินวิ่งได้กระแสตอบรับที่ดีมากในปีนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมมีแผนงานที่จะจัดกิจกรรมลักษณะนี้ขึ้นอีกครั้ง ซึ่งขณะนี้อยู่ใน ระหว่างการดําเนินงานจัดเตรียมแผนงาน และจะทําการประชาสัมพันธ์ให้ทราบในโอกาสต่อไป